วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน

ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน (Transactional leadership)
                       นำแบบแลกเปลี่ยน  คือ  การใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับผู้ตาม โดยที่ผู้นำยอมรับความต้องการของผู้ตามด้วยการให้วัตถุสิ่งของมีค่าตามที่ต้องการ แต่มีเงื่อนไขแลกเปลี่ยนให้ผู้ตามต้องทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดหรือปฏิบัติหน้าที่ได้สำเร็จตามข้อตกลง ผู้ตามก็จะได้รางวัลตอบแทนเป็นการแลกเปลี่ยน ขณะที่ผู้นำก็ได้ประโยชน์จากผลงานที่สำเร็จนั้น ผู้นำแบบแลกเปลี่ยนจึงเน้นที่ทำให้การดำเนินการขององค์การในปัจจุบันเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ (efficiency) บังเกิดผลดี (excel)   (เบอร์น   Bum, 1978)
                        ลักษณะของผู้นำแบบแลกเปลี่ยนจะสังเกตเห็นได้ดังนี้  (Bass and Avolio, 1990 : 10)
1.  รู้ว่าผู้ตามต้องการอะไรจากการทำงาน และพยายามให้ผู้ตามได้รับสิ่งที่ต้องการ ตราบเท่าที่เขายังทำงานได้ผล
2.  แลกเปลี่ยนรางวัลและสัญญาว่าจะให้รางวัลถ้ามีความมานะพยายามในการทำงาน
3.  ตอบสนองต่อความต้องการและความปรารถนาของผู้ตามตราบเท่าที่ผู้ตามยังคงทำงานได้สำเร็จ
r  องค์ประกอบที่สำคัญของผู้นำแบบแลกเปลี่ยน  (Transactional leadership)  ที่ทำให้มีอิทธิพลต่อผู้ตามได้แก่ 
 1.  การให้รางวัลตามสถานการณ์  (Contingent Reward : CR) เกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นำและผู้ตามซึ่งเน้นการแลกเปลี่ยนนั่นคือผู้นำให้รางวัลที่เหมาะสม เมื่อผู้ตามปฏิบัติงานตาม ข้อตกลงหรือได้ใช้ความพยายามสมควร
2. การบริหารแบบวางเฉย (Management-by-Exception) เป็นการบริหารงานที่ปล่อยให้เป็นไปตามสภาพเดิม (status quo) ผู้นำไม่พยายามเข้าไปยุ่งเกี่ยว จะเข้าไปแทรกก็ต่อเมื่อมีอะไรเกิดผิดพลาดขึ้นหรือการทำงานต่ำกว่ามาตรฐาน การเสริมแรงมักจะเป็นทางลบ คือตำหนิ ให้ข้อมูลย้อนกลับทางลบ แบ่งได้เป็น 2 แบบ  คือ   2.1 การบริหารแบบวางเฉยเชิงรุก (Active  Management-by-Exception : MBE-A) ผู้นำจะใช้วิธีการทำงานแบบกันไว้ดีกว่าแก้  ผู้นำจะคอยสังเกตผลการปฏิบัติงานของผู้ตาม และช่วยแก้ไขให้ถูกต้องเพื่อป้องกัน หรือความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้น 
2.2 การบริหารแบบวางเฉยเชิงรับ (Passive  Management-by-Exception : MBE-P) ผู้นำจะใช้วิธีการทำงานแบบเดิม และพยายามรักษาสถานภาพเดิม (status quo) ตราบเท่าที่วิธีการทำงานแบบเก่ายังใช้ได้ผล ถ้ามีอะไรผิดพลาดหรือมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น ผู้นำจะเข้าไปแทรกแซงถ้าผลปฎิบัติงานไม่ได้มาตรฐาน หรือมีบางอย่างผิดพลาด          (สุโขทัยธรรมาธิราช, บัณฑิตศึกษา (2540 : 59-61) 
                r  บริบทการเลือกใช้ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน
                        คอตเตอร์ (Kotter, 1990) มีความเห็นว่าภาวะผู้นำที่ดีมีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์การ ต้องรู้จักเลือกใช้ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน จึงทำให้ภาวะผู้นำบริหารงานองค์การสำเร็จประกอบด้วยตัวแปร 2 ประการ  ได้แก่
                        1. ระดับความสลับซับซ้อนขององค์การ (complexity of organization)
                        2. ระดับความจำเป็นที่ต้องการเปลี่ยนแปลง (amount of change needed)
ที่มา      http://suthep.cru.in.th/leader20.doc
นายยาเบ็น เรืองจรูญศรี
ผู้จัดทำ สมาชิกกลุ่มที่ 13   Transactional leadership
1.       นางทองดี นามสว่าง เลขที่ 14
2.       นายเทพวิมล นามสว่าง เลขที่ 17
3.       นายมติ ไตรยพันธ์ เลขที่ 41
4.       นายสาคร กันทะพันธ์ เลขที่ 59
นักศึกษาปริญญาโทรุ่นที่ 3 สาขาบริหารการศึกษา ศูนย์ท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554

สรุปหลักสูตรแกนกลาง 51

สรุปหลักสูตรแกนกลาง 51

          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๕0  และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และแก้ไขเพิ่มเติม  (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕
           อาศัยอำนาจตามความมาตรา  ๑๒  และมาตรา  ๑๕  แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ  พ.ศ. ๒๕๔๖ และคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มีมติเห็นชอบให้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช ๒๕๕๑
           โรงเรียนต้นแบบ
1.ปีการศึกษา  2552  ให้ใช้หลักสูตร  ในชั้น ป.1-6  และ ม.1 และ 4
2. .ปีการศึกษา  2553  ให้ใช้หลักสูตร  ในชั้น ป.1-6  และ ม.1,ม.2  และ 4,ม.5
3. .ปีการศึกษา  2554 เป็นต้นไปใช้ครบทุกชั้นเรียน
        โรงเรียนทั่วไป
1.ปีการศึกษา  2553 ให้ใช้หลักสูตร  ในชั้น ป.1-6  และ ม.1 และ 4
2. .ปีการศึกษา  2554  ให้ใช้หลักสูตร  ในชั้น ป.1-6  และ ม.1,ม.2  และ 4,ม.5
3. .ปีการศึกษา  2555   เป็นต้นไปใช้ครบทุกชั้นเรียน
หลักการมี  6 ข้อ    จุดหมายมี 5 ข้อ  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน  มี  5  ประการดังนี้
1.ความสามารถในการสื่อสาร    2. ความสมารถในการคิด  3.ความสามารถในการแก้ปัญหา
4.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต  5.ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
คุณลักษณะอันพึงประสงค์   มุ่งพัฒนาผู้เรียน  เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข  ในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก มี 8 ข้อ
มาตรฐานการเรียนรู้จะสะท้อนให้ทราบว่า  1.ต้องการอะไร 2.ต้องสอนอะไร  3.จะสอนอย่างไร 4.ประเมินอย่างไร  รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาโดยใช้ระบบการประเมินคุณภาพภายใน  และการประเมินคุณภาพภายนอก   รวมถึงการทดสอบระดับเขตพื้นที่  และการทดสอบระดับชาติ
ตัวชี้วัด   1.ตัวชี้วัดชั้นปี   เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ(ป.1-ม.3)    2. 1.ตัวชี้วัดช่วงชั้น  เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(ม.4-ม.6)  
โครงสร้างเวลาเรียน    รวมเวลาเรียนทั้งหมด
 1.   ระดับประถมศึกษา  ไม่เกิน  1,000  ชม./ปี  จัดเวลาเรียนเป็นรายปี  โดยมีเวลาเรียนวันละไม่เกิน 5  ชม.
  2.ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  ไม่เกิน 1,200  ชม./ปีจัดเวลาเรียนเป็นรายภาค  โดยมีเวลาเรียนวันละไม่เกิน 6  ชม.
  3.ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  รวม 3 ไม่น้อยกว่า 3,600   ชม.จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค  โดยมีเวลาเรียนวันละไม่น้อยกว่า  6  ชม. ใช้เกณฑ์  40  ชม./ภาคเรียน  มีค่าน้ำหนักวิชา  1  หน่วยกิจ
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
1. ประถมศึกษาปีที่ 1- มัธยมศึกษาปีที่ 3  ปีละ  120  ชม.
2 และมัธยมศึกษาปีที่ 4-6   จำนวน  360  ชม.  นั้นเป็นเวลาสำหรับปฏิบัติกิจกรรมแนะแนว  กิจกรรมนักเรียน  และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ในส่วนกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์   ให้สถานศึกษาจัดสรรเวลาให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมดังนี้
  - ระดับประถมศึกษา  (ป.1-6)  รวม  6  ปี  จำนวน  60  ชั่วโมง
  - ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  (ม.1-3)  รวม  3  ปี  จำนวน  45  ชั่วโมง
  - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6)  รวม  3  ปี  จำนวน  60  ชั่วโมง
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้  แบ่งออกเป็น  4   ระดับ  ได้แก่
1.ประเมินระดับชั้นเรียน  อยู่ในกระบวนการเรียนรู้  ดำเนินการเป็นปกติ  เช่น  ซักถาม  การบ้าน  ชิ้นงาน แฟ้ม
2.ประเมินระดับสถานศึกษา  ตรวจสอบผลการเรียนเป็นรายปี/ภาค  ประเมิน เช่น  อ่าน  คิด วิเคราะห์  คุณลักษณะอันพึงประสงค์  ว่าส่งผลต่อการเรียนรู้ตามเป้าหมายหรือไม่  เปรียบเทียบกับเกณฑ์ระดับชาติ  และระดับเขต
3.การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา  ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
4.การประเมินระดับชาติ  ให้ ป.3 ,ป.6 ,ม.3,ม.6  เข้ารับการประเมิน  ผลการประเมินใช้เป็นข้อมูลในการเทียบเคียงคุณภาพการศึกษาในระดับต่างๆเพื่อวางแผนยกระดับการศึกษา

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554

การบริหารเชิงระบบ

การบริหารเชิงระบบ
การบริหารเชิงระบบ   หมายถึง วิธีการนำความรู้เรื่องระบบเข้ามาเป็นกรอบ ช่วยในการค้นหาปัญหา กำหนดวิธีการแก้ปัญหา และใช้แนวทางความคิดเชิงระบบ ช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหา
ทฤษฎีเชิงระบบ  หมายถึง การพิจารณาปรากฏการณ์ต่างๆทั้งระบบ เพื่อจะได้เห็นความสำคัญ และลักษณะขององค์ประกอบต่างๆ ที่สัมพันธ์กันเป็นหนึ่งเดียว
ผู้คิดค้นทฤษฎีระบบเป็นคนแรก คือ ลูควิก วอน เบอร์ทาแลฟฟี่ ( Ludwig Von Bertalaffy )
องค์ประกอบของระบบ ประกอบไปด้วย 5 ส่วนสำคัญ คือ
1.ปัจจัยนำเข้า   2.  กระบวนการ     3. ผลผลิต   4. การป้อนกลับ     5. สภาพแวดล้อม
                แนวคิดทฤษฎีระบบ มีบทบาทในการพัฒนาสร้างเสริมองค์ความรู้เกี่ยวกับองค์การและการบริหารต่างมีความเชื่อมั่นว่าจะส่งผลให้องค์การตามแนวทางแห่งความรู้ในมิติใหม่สามารถดำเนินกิจการได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสม่ำเสมอ แม้สภาพแวดล้อมจะเปลี่ยนแปงอย่างไรก็ตาม
ดังนั้น การศึกษาวิธีการบริหารเชิงระบบเป็นกระบวนการหนึ่งที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการบริหารงานในองค์การประเภทต่างๆ ทำให้ผู้บริหารเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมภายนอก บริหารลักษณะองค์รวมเป้าหมาย กระบวนการระบบย่อย องค์ประกอบต่างๆ มีปฏิสัมพันธ์กัน มีการปฏิบัติงานแลกเปลี่ยนข่าวสาร เพื่อบรรลุเป้าหมายทางการบริหาร การบริหารเชิงระบบวิธีการนี้ทำให้การดำเนินงานตามระบบบรรลุตามเป้าหมาย ตามขั้นตอนที่วางไว้ ใช้เวลา  งบประมาณบุคลากรมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด การศึกษาการบริหารเชิงระบบ เป็นแนวทางหนึ่งที่จะมีบทบาทในการสร้างสรรค์งานและแก้ปัญหาในองค์การได้เป็นอย่างดี และมีการพัฒนาวิธีการคิดนี้ ในการแก้ปัญหาที่หลากหลาย เฉพาะขั้นตอนหลักๆ ที่ไม่แตกต่างกันมากนัก

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

นายเทพวิมล นามสว่าง  อบรมหลักสูตรผู้อำนวยการ
วันที่ 20  กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม 2554

การพัฒนานวัตกรรม

1.       ชื่อนวัตกรรม
รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกและการลบ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
2.       นวัตกรรมด้านใด
เป็นนวัตกรรมการศึกษาด้านสื่อการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักเรียนให้มี
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น โดยการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
3.       ความเป็นมาของนวัตกรรม
ในสถานการณ์ปัจจุบันกระแสการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว  ไม่ว่าจะเป็นความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี  การสื่อสาร  การคมมาคม  การรับส่งข้อมูล  และวิทยาการต่างๆ  การแพร่ขยายของวัฒนธรรมข้ามชาติ  รวมถึงการแข่งขันอย่างรุนแรงทางเศรษฐกิจและการค้าระดับโลกในระบบการค้าเสรี  ประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาในทุกๆด้าน  ซึ่งการพัฒนาประเทศนั้นควรมุ่งความสำคัญทางการศึกษาเพื่อพัฒนาให้มีคุณภาพ  ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุคโลกาภิวัตน์ล้วนส่งผลให้เกิดวิกฤตการณ์ขึ้นในสังคมอย่างรุนแรงทั้งด้านเศรษฐกิจสังคม การเมือง วัฒนธรรม  และสิ่งแวดล้อม  (วรวิทย์  วสินสรากร.  2546:130)  ดังนั้นคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ในชาติจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ประเทศไทยควรมุ่งพัฒนา  คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์และมนุษย์ได้ใช้คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการศึกษาวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี  และศาสตร์อื่นๆ  คณิตศาสตร์ช่วยให้มนุษย์มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  คิดอย่างมีเหตุผล  คิดอย่างเป็นระบบและมีระเบียบแบบแผน  สามารถวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบ ถี่ถ้วน สามารถคาดการณ์  วางแผน  ตัดสินใจ  และแก้ปัญหาได้  (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2547:1)  การจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544  เป็นการศึกษาเพื่อปวงชนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เริ่มต้นการเรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตตามศักยภาพของตนเอง  เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถทางคณิตศาสตร์อย่างพอเพียงที่จะนำไปใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตรวมทั้งเป็นพื้นฐานและเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ต่อไปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช  2544  จึงได้กำหนดให้คณิตศาสตร์เป็นสาระหนึ่งที่เป็นพื้นฐานสำคัญที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียนรู้  โดยจัดเป็นสาระการเรียนรู้ที่โรงเรียนต้องใช้เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอนเพื่อสร้างพื้นฐานการคิดและเป็นกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาและเป็นวิกฤตของชาติ  (กรมวิชาการ. 2545: 2)  ซึ่งการที่ผู้เรียนรู้คณิตศาสตร์ได้อย่างมีคุณภาพนั้นจะต้องจัดกระบวนการเรียนรู้มุ่งเน้นการฝึกทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์  ควบคู่ไปกับคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยม  โดยต้องยึดหลักในการจัดการเรียนการสอน  ให้ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้  และพัฒนาตนเองได้  และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด  (กระทรวงศึกษาธิการ. 2546:4)  ฉะนั้น  ครูต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทจากการเป็นผู้ชี้นำ  ผู้ถ่ายทอดความรู้  ไปเป็นผู้ช่วยเหลือส่งเสริมและสนับสนุนผู้เรียนในการแสวงหาความรู้จากสื่อ  และแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ  และให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่นักเรียน  เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้สร้างสรรค์ความรู้ของตน